เห็นพระมหาโนเนมภูมิใจที่มีคนตั้งชื่อให้ ก็ดีใจครับที่ชอบ แต่อย่างไรก็ตาม ก่อนอื่นอยากจะบอกว่า งานเขียนของท่านที่แสนดีตอบ ไม่ใช่เพราะมันดีเลิศจนต้องออกมาชี้แจงหรอกนะครับ แต่ที่ตอบเพราะมันมีที่ผิดหลายจุด และพาดพิงถึงคนอื่นน่ะครับ
ตามงานของท่านดูเหมือนเป็นการ "จับแพะชนแกะ" ความถูก กลับกลายเป็นความเข้าใจคลาดเคลื่อนไป ทำให้ผู้อ่านที่ไม่ได้เข้าใจความจริงทั้งหลายจะเข้าใจผิดตามท่านไป และ ถ้าไม่ชี้แจงบ้าง ก็จะกลายเป็นเหมือนที่ผ่านๆมา ที่เมื่อก่อนศิษย์วัดพระธรรมกายไม่ได้ตอบโต้ เพราะไม่อยากมาเสียเวลาเรื่องหมองๆ ครับ ลำพังศึกษาเรื่องดีๆ ทำความดี ก็หมดเวลาชีวิตแล้ว คิดว่าทำดีไปเรื่อยๆ เดี๋ยวเขาก็เข้าใจเอง และไม่อยากฉีกหน้าคนอื่นครับ แต่ปรากฏว่าผ่านมาหลายปี เขาก็ไม่เข้าใจซักที
ซึ่งยุคนี้เป็นยุคชี้แจงความจริงครับ อะไรที่ชี้แจงได้ก็ชี้แจงไปครับ เพราะคนที่มีปัญญาจะได้เข้าใจถูกต้อง ขอความกรุณานะครับทุกประเด็นที่สงสัยและไม่เข้าใจในวัดพระธรรมกาย กรุณาถามไถ่มาดีๆ ก็ได้ครับ..ศิษย์วัดพระธรรมกายทุกคนยินดีอธิบายครับ เพราะการเข้าใจผิดมันเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ครับ
แต่ถ้าท่านมหามโนเรื่องราวเอาเอง เดาเอาเอง จับแพะชนแกะเอาเอง งานเขียนของมหาก็จะอยู่ในระดับของงานเขียนทีไม่ดีครับ หรือเรียกง่ายๆว่า “มั่ว” ครับ
ตัวอย่างอันที่แล้ว แสนดีแค่ยกตัวอย่าง แก้เรื่องของ “ธง” ซึ่งเห็นได้ชัดเจน ไม่ต้องค้นคว้า หรือตีความอะไรเลย เอามาให้ดูว่าเรื่องชัดๆ อย่างนี้ ยังมั่วได้ สาอะไรเรื่องอื่นๆ จะมั่วไม่ได้ครับ ยิ่งเรื่องอัตตาอนัตตานั่นยิ่งแล้วใหญ่ พระนิพพานเป็นสภาวธรรมระดับสูง ในระดับพระอรหันต์ที่ถึงโลกุตรธรรม ท่านมหากลับกล้าฟันธงจากเพียงแค่อ่านๆ เอาด้วยตัวอักษรเพียงอย่างเดียวเลยเหรอครับ ท่านได้สภาวะนั้นแล้วเหรอครับ
ขนาดของเห็นชัดๆ สัมผัสได้อย่างธงที่ไม่ต้องตีความอะไรเลย มหายังวินิจฉัยผิด แล้วเรื่องอื่นที่สัมผัสไม่ได้มองไม่เห็นและเป็นสภาวธรรมที่สูงล่ะครับ เหมือนคนตาบอดมาอธิบายเรื่องดวงอาทิตย์ให้คนตาบอดฟัง ฉันนั้น
ในเบื้องต้น น้องแสนดีไม่อยากทำให้มหาต้องเสียหน้านะครับ เพราะคิดว่าทุกคนก็ทำผิดพลาดกันได้เป็นเรื่องธรรมดา
ซึ่งถ้ามหาอยากจะให้งานเขียนของตัวเองมีคุณภาพมากขึ้น กรุณาอย่านั่งเทียนครับ ยิ่งถ้าเขียนถึงบุคคลที่สาม กรุณามาถามบุคคลที่สามก่อน ว่าเขาเป็นอย่างนั้นจริงหรือเปล่า ไม่ใช่เดาๆเอา แล้วไปเขียนเอาไปพิมพ์แจกชาวบ้าน มันใช่สิ่งที่ดีที่ผู้เป็นบัณฑิตเขาพึงทำเหรอครับ ดังข้อพึงพิจารณาของบรรพชิต 10 ข้อในข้อสุดท้ายที่ว่า คุณวิเศษที่เราบรรลุแล้วมีอยู่หรือไม่ ที่จะทำให้เราเป็นผู้ไม่เก้อเขิน เมื่อถูกเพื่อนบรรพชิตถามในกาลภายหลัง
ดังนั้นน้องแสนดีขอแนะนำให้ท่านอย่าเป็นปริยัติงูพิษเลยครับ ขอให้ท่านไปทำปฏิเวธให้แจ้งก่อน แล้วค่อยมาเพ่งโทษ โพนทะนา คนอื่นนะครับ เรามาช่วยกันจรรโลงพระพุทธศาสนาร่วมกัน ให้พุทธบุตรเป็นหนึ่งเดียวกันเหมือนดวงตะวันที่มีดวงเดียวดีกว่าครับ ไหนๆ จะเสียเวลาทั้งทีแล้ว
อ่อ การระดมทุน ไม่สำคัญว่าจะออกสื่อหรือไม่ แม้เพียงไปลงเทศน์กลุ่มเล็กๆ แจ้งเหตุว่าจะทำอะไร แล้วรวบรวมเงินมา นั่นก็คือการระดมทุนแล้วครับ ยิ่งแจ้งชื่อผู้รวมบุญพิมพ์ยิ่งชัดเจนครับว่าระดมทุน
..........................
น้องแสนดีตอบ ท่านมหาโนเนม " เรื่องการบูชาข้าวพระ
“ท่านมหาโนเนม " :
สำหรับศาสนพิธี “การบูชาข้าวพระ” โดยเฉพาะคำกล่าวบูชาข้าวพระพุทธประโยคนี้ “อิมํ สูปพฺยญฺชนสมฺปนฺนํ โภชนํ สอุทกํ วรํ พุทฺธสฺส ปูเชมิ : ข้าพเจ้าขอบูชาโภชนะสมบูรณ์ด้วยข้าวและกับ พร้อมน้ำใสสะอาดนี้แด่พระพุทธเจ้า” เราชาวพุทธคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี เพราะก่อนชาวพุทธจะถวายสำรับกับข้าวอาหารแด่พระสงฆ์ให้กระทำภัตกิจหรือก่อนพระสงฆ์บิณฑบาตกลับมาจะกระทำภัตกิจฉันภัตตาหารเช้าก็ยกสำรับกับข้าวน้อยๆ (ในถ้วยตะไลเล็ก ไม่พออิ่ม ทำพอเป็นพิธี มิได้มลังเมลืองยิ่งใหญ่ ภาชนะเงินทองรองรับข้าวอาหารวาววับงามจับตา) ถวายเป็นพุทธบูชา ถวายข้าวแด่พระพุทธเจ้านั่นเอง
---------------------
^^น้องแสนดีตอบ ^^
ตัวอย่าง "อสทิสทาน" นะครับ ซึ่งเป็นทานขนาดใหญ่ ซึ่งในสมัยพระพุทธเจ้าหนึ่งองค์จะมีทานขนาดนี้หนึ่งครั้ง ในสมัยพุทธกาล พระราชาถวายอาหาร แด่พระพุทธเจ้ากับพระสงฆ์ 500 องค์ ใช้เงินไป 140 ล้านกหาปณะ (เฉลี่ยองค์ละ 280,000 -- 1 กหาปณะน่าคิดเป็นเงินไทยหลายบาท ) และสิ่งอื่นๆเพื่อบูชาพระพุทธเจ้าอีกมากมาย เช่นเอาช้าง 500 เชือกมากั้นฉัตร https://goo.gl/RBDQQN นั่นบูชาพระพุทธเจ้าอย่างยิ่งใหญ่เลยนะครับ ถ้าใหญ่แล้วไม่ดี พระพุทธเจ้าท่านก็ต้องทรงห้ามแล้วใช่ไหมครับว่าเรามาทำน้อยๆ กันเถอะ พอเพียงๆ นะ มีน้อยก็ทำให้น้อย มีมากก็ต้องทำน้อยนะ ห้ามเยอะเดี๋ยวจะมลังเมลือง อย่างนั้นเหรอครับ ^^ ถ้ามีมหาโนเนมช่วยเอาหลักฐานมาดูด้วยนะครับ
แล้วถ้าทำมากกว่าถ้วยตะไล ก็ไม่ผิดครับ ไม่มีข้อกำหนดไว้ตรงไหนว่าต้องทำแบบไหน ขนาดเท่าไรครับ รบกวนท่านมหาช่วยค้นมาให้หน่อยนะครับ ว่าต้องเท่าถ้วยตะไลเท่านั้น ไม่อย่างนั้นผิด
หลายที่หรือหลายวัดในประเทศพม่าซึ่งก็เป็นพุทธเถรวาทเช่นกัน ก็ทำการบูชาข้าวพระด้วยปริมาณไม่น้อย ตามภาพ https://goo.gl/ESj3nJ และ https://goo.gl/QhTIBs
วัดเหล่านี้เขาปฏิบัติแบบนี้ ก็ไม่ผิดนะครับ
สำหรับท่านใดที่ไม่นิยมความมลังเมลือง ในพระไตรปิฎกก็จัดอัธยาศัยเข้าในแบบ “ลูขประมาณ” ก็อยู่แบบเก่าคร่ำคร่าตามอัธยาศัยอุปนิสัยที่สั่งสมกันมาข้ามชาติ ก็สามารถสร้างศรัทธาแก่สาธุชนได้เช่นกันครับ ไม่ว่ากัน แล้วแต่ท่านมหาเลยครับ
เอาเป็นว่า เขามีมากเขาก็ทำมาก เขามีน้อยเขาก็ทำน้อย ทำแล้วสุขใจ อิ่มบุญ ไม่ได้เดือดร้อนตนเองและผู้อื่น ก็เป็นบุญแล้วครับ
//////////////////////////////////////////////////////////////////////
ท่านมหาโนเนม:
“การบูชาข้าวพระพุทธ ไม่ได้เริ่มปฏิบัติกันมาตั้งแต่ครั้งพุทธกาล” เพราะสืบหาการบูชาข้าวพระพุทธไม่มีปรากฏในพระไตรปิฎก อย่างไรก็ตาม หากจะพิสูจน์เรื่องนี้โดยนำพระไตรปิฎกมาเป็นเครื่องชี้ผิดถูกนั้น พบว่ามีข้อความช่วงท้ายของพรหมชาลสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ 9 บอกว่า ไม่ควรบูชาข้าวพระพุทธ (เหมือนไปเซ่นสรวงวิญญาณของพระพุทธเจ้า ปรามาสดูหมิ่นทำให้พระพุทธองค์เป็นเหมือนสัมภเวสีเร่ร่อนไปเสียเปล่า) เพราะไม่มีพระวรกายรูปลักษณะให้พบเห็นแล้ว เหลือเพียงพุทธคุณ ควรน้อมระลึกถึงโดยความเป็นอตีตารมณ์ “พุทธานุสติ” เท่านั้น
-----------------------------
^^น้องแสนดีตอบ ^^
เรื่องที่ท่านมหา ยกมากล่าวอ้างในพรหมชาลสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ 9 ที่บอกว่า ไม่ควรบูชาข้าวพระพุทธ ปรากฏว่า.. หาไม่พบครับ!! ใคร่จะขอความรู้ว่าท่านมหา สืบค้นพระไตรปิฎกเล่มไหนมาอ้างอิงครับ โปรดแนะนำ แม้คำว่าการบูชาข้าวพระ อาจไม่ได้มีปรากฏตรงตัวในพระไตรปิฎก แต่ก็ไม่ได้แปลว่าอาจจะไม่มีในสมัยพุทธกาลหรือไม่ แต่ในหลังพุทธกาลก็มีแน่ๆ ครับ ดังที่มีบันทึกไว้อรรถกถา คือน่าจะเป็นสมัยหลังจากพระเจ้าอโศก คือ “พึงตั้งพระพุทธรูปที่มีพระธาตุไว้บนอาสนะในฐานะองค์ ประมุขของสงฆ์ ๒ ฝ่าย ตั้งที่วางของไว้ ถวายวัตถุทั้งหมดมีทักษิโณทก (น้ำหลั่งอุทิศถวายเป็นทักษิณาทาน) เป็นต้นแด่พระศาสดาก่อน จึงถวายแด่พระสงฆ์ ๒ ฝ่าย ทานได้ชื่อว่าถวายสงฆ์ ๒ ฝ่าย โดยมีพระพุทธเจ้าเป็นองค์ประมุข ด้วยประการฉะนี้ https://goo.gl/D8DKns
และที่ว่าทำการบูชาโดยน้อมถึงท่านเพียงด้วยพทธานุสติเท่านั้นก็พอ ไม่ทราบว่าตีความตามความเข้าใจของตัวเองหรือเปล่าครับ เพราะน้องแสนดีมีหลักฐานประกอบว่าทำได้ ซึ่งแม้ไม่ใช่ข้าวโดยตรง แต่ถวายวัตถุทานต่อพระพุทธเจ้าที่แม้ปรินิพพานไปแล้วก็ได้บุญมาก โดยมีมาในมหาปรินิพพานสูตร
เนื้อความว่า
พึงสร้างสถูปของตถาคตไว้ที่หนทางใหญ่ ๔ แพร่ง ชนเหล่าใดจักยกขึ้นซึ่งมาลัยของหอมหรือจุณ จักอภิวาทน์ หรือจักยังจิตให้เลื่อมใสในสถูปนั้น การกระทำเช่นนั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข แก่ชนเหล่านั้นสิ้นกาลนาน ฯ พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค https://goo.gl/Lzzn3l
แสดงให้เห็นชัดเลยนะครับ ว่าพระพุทธเจ้าท่านบอกว่า แม้เมื่อหลังปรินิพพาน การบูชาท่านก็ยังได้ผลมาก
ท่านมหาโนเนมก็คงไม่เข้าใจว่าปรินิพพานไปแล้ว
บูชาท่านจะได้อะไร ?
ก็พระพุทธเจ้าท่านไม่ได้เอาไปหรอกครับ
แต่เราต่างหากที่ได้บุญ
ในพระไตรปิฎก มีอยู่มากมายที่เกี่ยวกับบุญจากการบูชาพระพุทธเจ้าแม้ปรินิพพานไปแล้ว ด้วยวัตถุทาน
เช่น สกจิตตนิยเถราปทาน เนื้อความว่า เราได้เห็นป่าชัฏใหญ่สงัดเสียง ปราศจากอันตราย เป็นที่อยู่อาศัยของพวกฤาษี ดังกับจะรับเครื่องบูชา เราจึงเอาไม้ไผ่มาทำเป็นสถูป แล้วเกลี่ย (โปรย) ดอกไม้ต่างๆ ได้ไหว้พระสถูป ดุจถวายบังคมพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งยังทรงพระชนม์อยู่เฉพาะพระพักตร์ เราได้เป็นพระราชาสมบูรณ์ด้วยรัตนะ ๗ ประการ เป็นใหญ่ในแว่นแคว้นปรารภด้วยกรรมของตน นี้เป็นผลแห่งการบูชาด้วยดอกไม้ ในกัลปที่ ๙๑ แต่กัลปนี้ เราโปรยดอกไม้ใด ด้วยกรรมนั้นเราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งพุทธบูชา ในกัลปที่ ๘๐ เราได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ มียศอนันต์สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ เป็นใหญ่ในทวีปทั้ง ๔ คุณวิเศษเหล่านี้คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้วพระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน
จะเห็นได้ชัดเลยนะครับว่า บูชาแม้ปรินิพพานไปแล้ว ก็ได้บุญใหญ่ และบุญส่งผลถึงในชาติที่บรรลุธรรมเลยทีเดียว ยังมีอีกหลายพระสูตรเลยครับ
... ทั้งบูชาด้วยประทีป
... บูชาด้วยทองคำ
... บูชาด้วยดอกไม้ ฯลฯ
https://goo.gl/wbJOQA และ https://goo.gl/r6lIK5
ไม่ทราบมหาโนเนมเคยอ่านเจอไหมครับ
นี่เป็นตัวอย่างจากดอกไม้นะครับ ซึ่งข้าวก็เป็นหนึ่งในวัตถุทานเช่นกัน และยังเป็นประโยชน์ให้กับพระและสาธุชนเมื่อทำพิธีเสร็จแล้วด้วยนะครับ ก็จะได้เอาไปทานกันต่อดีไหมครับ ได้ทั้งบุญ ได้ทั้งอิ่ม
//////////////////////////////////////////////////////////////////////////
ท่านมหาโนเนม:
ถามให้คิดว่า “การบูชาข้าวพระพุทธ เราชาวพุทธปรารถนาบุญหรือไม่ จะได้บุญจริงๆ ไหม” พิจารณาคำว่า “บูชา” ก่อน ในมงคลสูตร 3 ข้อแรกแสดงไว้ว่า ไม่คบคนพาล 1 คบเฉพาะบัณฑิต 1 บูชาบุคคลผู้ควรแก่การบูชา 1 ทั้ง 3 ประการนั่นเป็นอุดมมงคล การบูชาบุคคลผู้ควรแก่การบูชาเป็นสิริมงคล มิได้เป็นบุญ เช่นเดียวกับการบูชาข้าวพระพุทธ ถวายข้าวน้ำบูชาพระพุทธเจ้าก็เป็นสิริมงคล มิได้เป็นบุญ และเมื่อเกิดเป็นมงคล ก็เกิดเป็นกุศลจิต เมื่อเกิดเป็นกุศลจิตก็เกิดการทำกุศลกรรม เมื่อเกิดการทำกุศลกรรมก็สำเร็จเป็นบุญคุณความดี เมื่อสำเร็จเป็นบุญคุณความดีก็เกิดวิบากผลที่คนทำควรได้รับ ซึ่งจะต่อเนื่องสัมพันธ์กันไปเอง มิได้สลับซับซ้อนเลย เพียงแต่ต้องกล่าวให้ถูกต้องตรงตามเหตุปัจจัยที่เป็นจริงเท่านั้น ดังนั้นคำว่า “บุญ” ในที่นี้ จึงหมายถึงผลานิสงส์ที่ตนพึงได้ตามกำลังแห่งบุญที่กระทำไว้ทั้งในอดีตชาติและปัจจุบันชาติ เช่น เสื้อผ้าอาภรณ์ ข้าว น้ำ เครื่องอุปโภคบริโภค ยวดยานพาหนะ ประทีปของหอมเครื่องลูบไล้
------------------------------
^^น้องแสนดีตอบ ^^
“การบูชาข้าวพระพุทธ ถวายข้าวน้ำบูชาพระพุทธเจ้าก็เป็นสิริมงคล มิได้เป็นบุญ และเมื่อเกิดเป็นมงคล ก็เกิดเป็นกุศลจิต เมื่อเกิดเป็นกุศลจิตก็เกิดการทำกุศลกรรม เมื่อเกิดการทำกุศลกรรมก็สำเร็จเป็นบุญคุณความดี”
เห็นไหมครับ ขึ้นต้นบอกไม่ใช่บุญเป็นเพียงสิริมงคล แต่ลงท้ายบอกเป็นบุญ เชื่อว่าผู้อ่าน คงเห็นข้อมูลที่ขัดแย้งกันเองของข้อความเพียงไม่กี่บรรทัดนี้ของท่านนะครับ เรื่องนี้คงไม่ต้องอธิบายมาก
และในเรื่องของการบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ได้บุญและอานิสงส์มาก ดังที่ได้ยกตัวอย่างไปแล้วนะครับ
ดังนั้นผู้มีใจเลื่อมใสศรัทธาในพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และรู้ถึงคุณค่าของบุญ จึงควรทำทั้งอามิสบูชา และปฏิบัติบูชา ซึ่งวัดพระธรรมกาย ก็ทำทั้งบูชาข้าวพระ และนั่งสมาธิกลั่นใจระลึกถึงพระพุทธเจ้า จึงเป็นการทำทั้งสองอย่างครับ
เราทุกท่านที่ยังเวียนว่ายตายเกิดยังคงต้องศึกษาเรื่องราวต่างๆ อีกมากมาย อย่าว่าร้ายอย่าทะเลาะกันดีกว่าครับ แต่เอาข้อมูลดีๆ ถูกต้องมาทำความเข้าใจให้ตรงกันดีกว่า
ถ้าท่านมีตรงไหนสงสัย
หรือไม่เข้าใจ
กรุณามาถามพระที่เชี่ยวชาญธรรมะ
ที่วัดพระธรรมกายก่อนนะครับ
อย่านั่งสรุปความเดาเอาเองครับ
เพราะท่านก็คงไม่อยากให้ใครทำเช่นนี้กับท่านเช่นกัน
ขอฝากไว้ให้พิจารณาครับ
น้องแสนดี
19 กันยายน 2559
ติดตามเพจน้องแสนดีได้ทาง
facebook ค้นคำว่า น้องแสนดี
line ที่เพิ่มเพื่อน พิมพ์ @nongsaandee
twitter ค้น nongsaandee
.................
น้องแสนดีตอบพระมหาโนเนม เรื่องการบูชาข้าวพระ
การบูชาข้าวพระไม่ใช่การเซ่นสรวง
การบูชาพระพุทธเจ้าผู้ปรินิพพานแล้ว
แม้ด้วยทานวัตถุ ก็มีผลมาก
วัดอื่นที่จัดพิธีบูชาข้าวพระใหญ่ก็มี
ไม่ใช่มีเพียงวัดพระธรรมกาย
.......................
Cr. น้องแสนดี
ติดตามน้องแสนดีได้ทาง
Facebook
https://goo.gl/LUWnEZ
Line
https://goo.gl/ssVsg2
Twitter
https://goo.gl/9VwAWr
.......................
คลิ๊ก ย้อนกลับไปที่สารบัญ