วันเสาร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

มาฆบูชา


สุขสันต์วันมาฆะนะครับ เดือนนี้เป็นเดือนแห่งความรักก็ถือว่า วันนี้เป็นวันแห่งความรักความปรารถณาดีในพระพุทธศาสนาเลยก็ได้ครับ เพราะเป็นวันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านทรงให้หลักสำคัญแก่พระอรหันต์ไปเผยแผ่ธรรมะให้กับชาวโลก เพื่อให้ชาวโลกพบทางสว่าง รู้ความจริงของชีวิต ไม่พลัดไปอบาย 

วันมาฆบูชา  ย่อมาจาก มาฆปูรณมีบูชา” 

หมายถึง 
การบูชาในวันเพ็ญกลางเดือนมาฆะ 

(มาฆะคือชื่อเดือนที่ ๓ แห่งจันทรคติ ตามปฏิทินของอินเดีย หรือเดือน 3 ตามปฏิทินจันทรคติของไทย (ตกช่วงเดือนกุมภาพันธ์หรือมีนาคม) ถ้าปีใดมีเดือนอธิกมาส คือ มีเดือน 8 สองหน ก็เลื่อนไปเป็นวันเพ็ญเดือน 4)


........................................
          ถ้าอธิบายโดยสรุป คือ  เมื่อ 2,500 กว่าปีก่อน พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ให้กับ พระอรหันต์ที่ได้อภิญญา 6 (พระอรหันต์ฉฬภิญญะ ) จำนวน 1250 รูป ที่บวชโดยตรงจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่เวฬุวัน ในวันเพ็ญเดือน 3  ในพรรษาที่ 9 หลังจากการตรัสรู้ธรรม
........................................

ซึ่งเรื่องสำคัญก็คือ การที่ท่านได้ทรงแสดงธรรมที่สำคัญมากสำหรับการเผยแผ่ เพราะหลังจากวันนี้ พระอรหันตสาวกทั้งหลายก็จะออกเผยแผ่กันด้วยตนเอง 

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านจึงให้หลักไว้คือ โอวาทปาฏิโมกข์ ซึ่งในพระศาสนาของพระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ จะมีการรวมสงฆ์ครั้งใหญ่เพื่อแสดงโอวาทปาฏิโมกข์อย่างน้อย 1 ครั้ง ทุกครั้งจะเป็นการประชุมของผู้ที่ได้พระอรหันต์เอหิภิกขุ ที่ได้อภิญญา6 ทั้งสิ้น โดยเนื้อหาของหลักธรรมจะเหมือนกัน แต่จำนวนสงฆ์จะต่างกันไป เช่น

สมัยพระกกุสันธพุทธเจ้า อายุ 40,000 ปี ประชุม 1 ครั้ง พระสงฆ์สาวกขีณาสพมาประชุม 4 หมื่นรูป 
สมัยพระวิปัสสีพุทธเจ้าอายุ 80,000 ปี ประชุม 3 ครั้ง ครั้งที่ 1 มีภิกษุ 168,000 รูป ครั้งที่ 2 มีภิกษุ 1 แสนรูป ครั้งที่ 3 มีภิกษุ 8 หมื่นรูป


ดังนั้น 

นี่คือหัวใจของธรรมะ
ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเลยทีเดียว


โอวาทปาติโมกข์

แบ่งเป็น 3 ส่วน มีความหมายดังนี้


 ส่วนแรก  ทรงกล่าวถึงอุดมการณ์ในพระพุทธศาสนา
- ขนฺตี ปรมํ ตโป ตีติกฺขา
ขันติ คือความอดกลั้น เป็นตบะอย่างยิ่ง

- นิพฺพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา
พระพุทธเจ้าทั้งหลายตรัสว่า พระนิพพานเป็นเยี่ยม

- น หิ ปพฺพชิโต ปรูปฆาตี
สมโณ โหติ ปรํ วิเหฐยนฺโตฯ
ผู้ล้างผลาญผู้อื่น, ไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิต
ผู้เบียดเบียนผู้อื่น ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะ

เอตัง พุทธานะ สาสะนัง ฯ 
นี่เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

 ส่วนที่สอง  ทรงกล่าวถึง “หลักการอันเป็นหัวใจสำคัญเพื่อเข้าถึงจุดมุ่งหมายของพระพุทธศาสนา

- สัพพะปาปัสสะ อะกะระณัง 
การไม่ทำบาปทั้งปวง

- กุสะลัสสูปะสัมปะทา 
การบำเพ็ญกุศลให้ถึงพร้อม

- สะจิตตะปะริโยทะปะนัง 
การกลั่นจิตของตนให้ผ่องแผ้ว 

เอตัง พุทธานะ สาสะนัง ฯ 
นี่เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

 ส่วนที่สาม  ทรงกล่าวถึงวิธีการและคุณสมบัติของผู้เผยแผ่

อะนูปะวาโท, 
การไม่เข้าไปว่าร้ายกัน หนึ่ง 

อะนูปะฆาโต, 
การไม่เข้าไปล้างผลาญกัน หนึ่ง

ปาฏิโมกเข จะ สังวะโร, 
ความสำรวมในพระปาฏิโมกข์ หนึ่ง

มัตตัญญุตา จะ ภัตตัสมิง, 
ความเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนาหาร หนึ่ง

ปันตัญจะ สะยะนาสะนัง, 
การนอนการนั่งอันสงัด หนึ่ง

อะธิจิตเต จะ อาโยโค, 
การประกอบความเพียรในอธิจิต หนึ่ง

เอตัง พุทธานะ สาสะนัง ฯ 
นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย. 

สรุปแล้วคือ  หลักการ 3 อุดมการณ์ 4 วิธีการ 6 คือโอวาทที่ไว้ให้พระเผยแผ่นะครับ
โดยเฉพาะข้อ อดทนนี่มาเป็นข้อแรกเลยนะครับ 555

ดังนั้นวันนี้เรามาเอาบุญรำลึกถึงวันนั้นกันนะครับ
กำหนดการดังนี้
6.30น. ตักบาตร ณ ลานธรรม หน้ามหาธรรมกายเจดีย์ฯ

9.30 น.  ณ ห้องแก้วสารพัดนึก
  - ปฏิบัติธรรม
  - พิธีกล่าวคำถวายบุญสร้างโบสถ์พระไตรปิฎก
  - พิธีกล่าวคำถวายภัตตาหาร

13.30 น. ณ หน้ารัตนบัลลังก์
  -พิธีมอบโล่ทางก้าวหน้า ครั้งที่ 35
  -พิธีมอบโล่ World PEC ครั้งที่ 10
  - ปฏิบัติธรรม&ถวายปัจจัย

18.00 น. ณ ลานธรรม
 - พิธีเวียนประทักษิน & จุดโคมมาฆประทีป
- สวดธัมมจักกัปปวัตนสูตรต่อ


เกร็ดเล็กๆ นะครับ

ทีนี้มาดูว่่า พระทั้ง 1250 รูปมาจากไหนบ้าง ?
ก็คือมาจาก 2 กลุ่มใหญ่
กลุ่มศิษย์ของชฏิล 3 พี่น้อง 1000 รูป
และศิษย์ของพระโมคคัลลานะ และ พระสารีบุตร อีก 250 รูป

ส่วนพระอรหันต์ที่ไม่ได้เข้าประชุมในวันมาฆบูชา (9 เดือนหลังการตรัสรู้)

1.พระปัญจวัคคีย์ 5 รูป

2.พระนาลกะ (หลานชายอสิตดาบส) 
ท่านเป็นหลานชายอสิตดาบส ที่ออกบวชรอจนเมื่อพระพุทธเจ้าแสดงปฐมเทศนา ท่านนาลกะได้ยินข่าวจากพวกเทวดาจึงออกจากป่ามาเฝ้าพระพุทธเจ้าในวันที่ ๗ หลังปฐมเทศนา ฟังธรรมแล้วท่านก็กลับเข้าป่าอีก ท่านปฏิบัติโมเนยปฏิปทาอันอุกฤษณ์ และนิพพานในป่าหลังจากนั้น 7 เดือน ไม่รู้แน่ว่าท่านสำเร็จเป็นพระอรหันต์วันไหน แต่เข้าใจว่าน่าจะเป็นวันแรกๆ หลังจากฟังธรรมแล้ว (ซึ่งคงปรินิพพานไปแล้ว)

3.พระยสเถระ พร้อมสหายอีก 55 รูป
ลำดับต่อมา พระพุทธเจ้าได้แสดงธรรมโปรดยสกุลบุตรที่บ่นว่า ที่นี่วุ่นวายหนอ ที่นี่ขัดข้องหนอ แล้วเดินหนีออกจากปราสาทจนมาพบพระพุทธเจ้า ยสกุลบุตรฟังธรรมแล้วสำเร็จเป็นพระอรหันต์จึงออกบวช ต่อมาสหายได้ข่าวตามมาบวชและสำเร็จเป็นพระอรหันต์รวมทั้งหมดคณะนี้อีก 55 องค์

4.ชฎิล 3 พี่น้อง
พระพุทธเจ้าเสด็จไปโปรดชฎิล 3 พี่น้องก่อนจะเข้าราชคฤห์
อุรุเวลกัสสปะมีบริวาร 500
นทีกัสสปะมีบริวาร 300
คยากัสสปะมีบริวาร 200
พระพุทธเจ้าทรงแสดงปาฏิหาริย์ปราบทิฏฐิชฎิลอยู่ราว ๓ เดือน จนในที่สุดชฎิลทั้งหมดออกบวช แล้วทรงแสดงธรรมจนชฎิลทั้งหมดสำเร็จเป็นพระอรหันต์ ซึ่งตัวเลขพระอรหันต์คณะนี้รวมแล้วน่าจะเป็น 1003 แต่ถ้าหัวหน้าชฎิลทั้ง 3 ไม่ได้มาด้วยก็จะเป้น 1000 รูปพอดี

5. พระอัครสาวกทั้ง 2
พระโมคคัลลานะ (โกลิตะ) สำเร็จในวันที่ 7 ส่วนพระสารีบุตร (อุปติสสะ) สำเร็จในวันที่ 15
ในวันที่พระสารีบุตรสำเร็จเป็นพระอรหันต์นั้นเป็นวันเพ็ญเดือน ๓ ภายหลังวันตรัสรู้ ๙ เดือน ซึ่งก็ตรงกับวันมาฆบูชานั่นเอง

และคณะพระภัททวัคคีย์ 30 คณะนี้ยังไม่มีใครสำเร็จเป็นพระอรหันต์
พระพุทธเจ้าเสด็จไปสู่นครราชคฤห์ ระหว่างทางทรงพบภัททวัคคีย์กุมาร 30 คนที่ไล่ฝ้ายตามหาหญิงคนหนึ่งที่ขโมยเครื่องประดับหนีไป พระองค์ทรงแสดงธรรมจนทั้งหมดดวงตาเห็นธรรม ขั้นต่ำเป็นพระโสดาบัน แต่ไม่มีใครสำเร็จเป็นพระอรหันต์ ทั้งหมดบวชแล้วกราบทูลลาไปปฏิบัติธรรมต่อทางแคว้นมัลละหลังจากนั้นราว ๖ ปี กลุ่มพระภัททวัคคีย์จึงกลับมาเฝ้าพระพุทธเจ้า ได้ฟังธรรมอีกครั้งจึงสำเร็จเป็นพระอรหันต์

และเป็นสิ่งที่น่าอัศจรรย์มากเลยนะครับ เพราะสมัยก่อนการสื่อสารก็ไม่ได้มี แต่สามารถมาประชุมรวมกันได้ เพราะทุกรูปเป็นผู้ที่มีญานทัศนะที่เกิดจากอภิญญา 6 ซึ่งวิสัยของผู้มีฌานเป็นสิ่งที่เกินกว่าที่เราจะคิดได้นะครับ เช่นเดียวกับตอนที่พระพุทธเจ้าไปโปรดปัญจวัคคีย์ ท่านรู้ได้อย่างไรว่าปัญจวัคคีย์อยู่ที่ไหน ซึ่งนั่นคือเรื่องของญานทัศนะของผู้มีฤทธิ์
ส่วนที่มีผู้ที่กล่าวว่าพระสงฆ์มารวมกันไม่ใช่เรื่องอัศจรรย์ เป็นเพราะความเชื่อเรื่องพราหมณ์ ที่ว่าวันศิวาราตรี (คืนเดือนมาฆะเช่นกัน) จะมารวมตัวกันเพื่อลอยบาปในคืนวันเพ็ญนั้นผิดเลยนะครับ 
เพราะผู้ที่เป็นพระอรหันต์แล้ว จะไม่มีความเชื่ออื่นนอกพุทธศาสนาแน่นอน และชฎิล ก็เป็นพวกบูชาไฟ ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับการลอยบาปหรือพระจันทร์เต็มดวงอะไรเลย และที่สำคัญคือ พระศิวะเป็นเทพที่ชาวฮินดูเริ่มบูชากันในยุคหลังพุทธกาล คือตั้งแต่ พ.ศ. 800 เป็นต้นมา https://goo.gl/Dy4L97
ดังนั้นทั้งหมดเกิดจาก ญานทัศนะล้วนๆ ครับ และเป็นสิ่งที่ทำมากันเป็นปกติของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ด้วย



........................................


175 มาฆบูชา


Cr. น้องแสนดี
ติดตามน้องแสนดีได้ทาง
Facebook
https://goo.gl/MOJoZP

Twitter https:/
goo.gl/YVxxgG

Line@ 
https://goo.gl/ngFdhG

เพลงมาฆบูชา 
https://www.youtube.com/watch?v=2Vkifs-IUyY

แอดไลน์แสนดีได้ทางลิ้งนี้นะครับ
https://goo.gl/XcZZTi

.......................

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

 

blog Nongsaandee by Nongsaansuai Template by Ipietoon Cute Blog Design