(อันนี้เป็นอันที่ Final ครับ เพราะก่อนหน้านี้เห็นมีออกมาอันนึงแต่เป็นอันที่ยังทำไม่เสร็จครับ ใครมีก็ลบทิ้งไปเลยครับ )
ตอนนี้เราได้มีสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 20 กันแล้วนะครับ
ก็ขอกราบถวายมุทิตากับท่านด้วยนะครับ
ก็อยากจะอ่านอยากจะรู้ประวัติท่านเพื่อเอามาเขียน
ก็อยากจะรู้ว่าในประเทศเราตั้งแต่องค์ที่ 1 จนถึงองค์ปัจจุบัน
ก็อ่านแล้วก็ค้นคว้าไปเรื่อย ๆ และก็จำไม่ได้เยอะมาก เลยต้องทำสรุปออกมา
**** ที่ทำเพราะความอยากรู้ส่วนตัวนะครับ ไม่ได้มีเจตนาอย่างอื่น เพราะตัวเองก็ไม่รู้อีกเยอะเหมือนกัน อยากดู Timeline ที่สำคัญ ๆ ว่ามีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นช่วงไหนบ้าง และเรื่องของการแยกนิกายนะครับ
โดยเอามาเทียบกับช่วงเวลาและรัชกาลนะครับ ว่าพระสังฆราชพระองค์ไหน อยู่ในสมัยไหนบ้างครับ
สังฆราช ความหมายตามรากศัพท์ แปลว่า “ราชาของสงฆ์”
มีชื่อตำแหน่งอย่างเต็มว่า “สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก”
เป็นตำแหน่งสูงสุดในฝ่ายพุทธจักรในประเทศไทย เป็นพระมหาเถระผู้เป็นใหญ่สูงสุดในสังฆมณฑลไทย
ประเภทของการเรียกพระนามสมเด็จพระสังฆราชมีคำเรียก 3 อย่าง คือ
1. ถ้าเป็นเชื้อพระวงศ์จะใช้เป็น “สมเด็จพระสังฆราชเจ้า” และมีพระนามโดยเฉพาะ เช่น สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์
2. หากเป็นพระบรมราชวงศ์ชั้นสูงใช้ว่า “สมเด็จพระมหาสมณเจ้า” ทรงเศวตฉัตร 5 ชั้น
3. ถ้ามาจากสามัญชนจะใช้ว่า “สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ” แล้ววงเล็บชื่อเดิมไว้ตอนท้าย ทรงเศวตฉัตร 3 ชั้น
>>> ลำดับสมเด็จพระสังฆราชแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และ Timeline เวลาที่สำคัญ
สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 1
สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช ศรี)
ทรงดำรงตำแหน่งเมื่อ พ.ศ. 2325 - พ.ศ. 2337 : 12 ปี)
วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร
(เป็นสมเด็จพระสังฆราช ในสมัยรัชกาลที่ 1)
สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 2
สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช ศุข)
ทรงดำรงตำแหน่งเมื่อ พ.ศ. 2337 - พ.ศ. 2359 : 22 ปี)
วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร
(เป็นสมเด็จพระสังฆราช ในสมัยรัชกาลที่ 1และ 2)
สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 3
สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช มี)
ทรงดำรงตำแหน่งเมื่อ พ.ศ. 2359 - พ.ศ. 2362 : 3 ปี)
วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร
(เป็นสมเด็จพระสังฆราช ในสมัยรัชกาลที่ 2)
สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 4
สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช สุก ญาณสังวร)
ทรงดำรงตำแหน่งเมื่อ พ.ศ. 2363 - 4 กันยายน พ.ศ. 2365 : 2 ปี)
วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร
(เป็นสมเด็จพระสังฆราช ในสมัยรัชกาลที่ 2)
สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 5
สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช ด่อน)
ทรงดำรงตำแหน่งเมื่อ มีนาคม พ.ศ. 2365 - 23 กันยายน พ.ศ. 2385 : 20 ปี)
วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร
(เป็นสมเด็จพระสังฆราช ในสมัยรัชกาลที่ 2 และ 3)
>>>> หลังจากนี้ แบ่งเป็น ธรรมยุติกนิกาย และมหานิกายแล้วนะครับ <<<<<
เป็นคณะสงฆ์ที่พระวชิรญาณเถระ ร.4) ทรงตั้งขึ้นระหว่างที่ทรงผนวช
สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 6
สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช นาค)
ทรงดำรงตำแหน่งเมื่อ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2386 - พ.ศ. 2392 : 6 ปี)
วัดราชบูรณะราชวรวิหาร มหานิกาย)
(เป็นสมเด็จพระสังฆราช ในสมัยรัชกาลที่ 3)
>>> ตำแหน่งพระสังฆราชว่าง 2 ปี
เป็นที่น่าศึกษาต่ออย่างมาก ว่าช่วงนี้เกิดอะไรขึ้นบ้าง
สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 7
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส (พระองค์เจ้าวาสุกรี สุวณฺณรงฺสี)
ทรงดำรงตำแหน่งเมื่อ สิงหาคม พ.ศ. 2394 - 9 ธันวาคม พ.ศ. 2396 : 2 ปี)
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร มหานิกาย)
(เป็นสมเด็จพระสังฆราช ในสมัยรัชกาลที่ 4)
>>> ระหว่างนี้ตำแหน่งพระสังฆราชว่าง 37 ปี
เป็นที่น่าศึกษาต่ออย่างมาก ว่าช่วงนี้เกิดอะไรขึ้นบ้าง หรือรออะไรอยู่จึงต้องว่างนานถึง 37 ปี
สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 8
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ (พระองค์เจ้าฤกษ์ ปญฺญาอคฺโค)
ทรงดำรงตำแหน่งเมื่อ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2434 - 28 กันยายน พ.ศ. 2435 : 10 เดือน)
วัดบวรนิเวศวิหารราชวรวิหาร (ธรรมยุติกนิกาย)
(เป็นสมเด็จพระสังฆราช ในสมัยรัชกาลที่ 5)
เป็นหนึ่งในสิบพระเถระผู้เป็นต้นวงศ์ธรรมยุต และเป็นพระสังฆราชองค์แรกที่เป็นธรรมยุติกนิกาย
สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 9
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สา ปุสฺสเทโว)
ทรงดำรงตำแหน่งเมื่อ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2436 - 11 มกราคม พ.ศ. 2443 : 6 ปี)
วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร (ธรรมยุติกนิกาย)
(เป็นสมเด็จพระสังฆราช ในสมัยรัชกาลที่ 5)
มีพระบรมราชโองการ ให้ประกาศใช้พระราชบัญญัติลักษณะการปกครองคณะสงฆ์ขึ้น เป็นครั้งแรกในประเทศไทย (พ.ร.บ.คณะสงฆ์ ร.ศ. 121 )
(การปกครองคณะสงฆ์สมัยรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๕-๗ https://goo.gl/1zk3Ih
มีสาระสำคัญคือได้ยกสถานะคณะธรรมยุติ ให้เป็นนิกายอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
(ธรรมยุติกนิกาย https://goo.gl/zYco9B)
>>> ระหว่างนี้ตำแหน่งพระสังฆราชว่าง 11 ปี
เป็นที่น่าศึกษาต่ออย่างมาก ว่าช่วงนี้เกิดอะไรขึ้นบ้าง หรือรออะไรอยู่จึงต้องว่างนานถึง 11 ปี
สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 10
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส (พระองค์เจ้ามนุษยนาคมานพ มนุสฺสนาโค)
ทรงดำรงตำแหน่งเมื่อ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2453 - 2 สิงหาคม พ.ศ. 2464 : 11 ปี)
วัดบวรนิเวศวิหารราชวรวิหาร (ธรรมยุติกนิกาย)
(เป็นสมเด็จพระสังฆราช ในสมัยรัชกาลที่ 6 )
สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 11
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ (หม่อมเจ้าภุชงค์ สิริวฑฺฒโน ชมพูนุท)
ทรงดำรงตำแหน่งเมื่อ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2464 - 25 สิงหาคม พ.ศ. 2480 : 16 ปี)
วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร (ธรรมยุติกนิกาย)
(เป็นสมเด็จพระสังฆราช ในสมัยรัชกาลที่ 6 - 8)
สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 12
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทโว พงษ์ปาละ)
ทรงดำรงตำแหน่งเมื่อ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481 - 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2487 : 6 ปี)
วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร มหานิกาย)
(เป็นสมเด็จพระสังฆราช ในสมัยรัชกาลที่ 8)
เปลี่ยนชื่อจากสยามเป็นประเทศไทย พ.ศ. 2482
มีพ.ร.บ.สงฆ์ พ.ศ. 2484 ความสำคัญในพระราชบัญญัติก็คือ ได้จัดการปกครองคณะสงฆ์ให้อนุโลมระบอบการปกครองบ้านเมืองเท่าที่ไม่ขัดกับพระธรรมวินัย”
และพยายามรวม 2 นิกายให้เข้าเป็นอันเดียวกัน (การปกครองคณะสงฆ์สมัยรัตนโกสินทร์ในรัชกาลที่ ๘ https://goo.gl/cWVfd1) พระมหากษัตริย์ทรงสถาปนา สมเด็จพระสังฆราช
สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 13
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (หม่อมราชวงศ์ชื่น สุจิตฺโต นพวงศ์)
ทรงดำรงตำแหน่งเมื่อ 31 มกราคม พ.ศ. 2488 - 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2501 : 14 ปี)
วัดบวรนิเวศวิหารราชวรวิหาร (ธรรมยุติกนิกาย)
(เป็นสมเด็จพระสังฆราช ในสมัยรัชกาลที่ 8 - 9)
>>> ระหว่างนี้ตำแหน่งพระสังฆราชว่าง 2 ปี
เป็นที่น่าศึกษาต่ออย่างมาก ว่าช่วงนี้เกิดอะไรขึ้นบ้าง หรือรออะไรอยู่จึงต้องว่างนานถึง 2 ปี
สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 14
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ปลด กิตฺติโสภโณ เกตุทัต)
ทรงดำรงตำแหน่งเมื่อ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2503 - 17 มิถุนายน พ.ศ. 2505 : 2 ปี)
วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร มหานิกาย)
(เป็นสมเด็จพระสังฆราช ในสมัยรัชกาลที่ 9)
พ.ร.บ.สงฆ์ พ.ศ. 2505
(รัฐบาลในสมัยนั้น ซึ่งมีจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี)
ผลจากพ.ร.บ.สงฆ์ พ.ศ.2484 ที่พยายามรวมนิกาย ไม่เป็นผลสำเร็จ (https://goo.gl/cWVfd1)
ทำให้ต้องออก พ.ร.บ.สงฆ์ พ.ศ.2505 สาระสำคัญคือ ยกเลิกระบบประธานสังฆสภา สังฆนายก และประธานคณะวินัยธร อำนาจหน้าที่ของตำแหน่งทั้งสามถูกรวมกันเข้าและมอบให้ประธานกรรมการมหาเถรสมาคม (https://goo.gl/vOEvo4)
(กรณีพระพิมลธรรม https://goo.gl/jUp3Kz )
สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 15
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (อยู่ ญาโณทโย ช้างโสภา)
ทรงดำรงตำแหน่งเมื่อ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2506 - 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2508 : 2 ปี)
วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร มหานิกาย)
(เป็นสมเด็จพระสังฆราช ในสมัยรัชกาลที่ 9)
สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 16
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฏฐายี สิริสม)
ทรงดำรงตำแหน่งเมื่อ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2508 - 18 ธันวาคม พ.ศ. 2514 : 7 ปี)
วัดมกุฏกษัตริยารามวรวิหาร (ธรรมยุติกนิกาย)
(เป็นสมเด็จพระสังฆราช ในสมัยรัชกาลที่ 9)
สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 17
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ปุ่น ปุณฺณสิริ สุขเจริญ)
ทรงดำรงตำแหน่งเมื่อ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2515 - 7 ธันวาคม พ.ศ. 2516 : 1 ปี)
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร มหานิกาย)
(เป็นสมเด็จพระสังฆราช ในสมัยรัชกาลที่ 9)
สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 18
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสโน นิลประภา)
ทรงดำรงตำแหน่งเมื่อ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2517 - 27 สิงหาคม พ.ศ. 2531 : 14 ปี)
วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร (ธรรมยุติกนิกาย)
(เป็นสมเด็จพระสังฆราช ในสมัยรัชกาลที่ 9)
สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 19
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน คชวัตร)
ทรงดำรงตำแหน่งเมื่อ 21 เมษายน พ.ศ. 2532 - 24 ตุลาคม พ.ศ. 2556 : 24 ปี)
วัดบวรนิเวศวิหารราชวรวิหาร (ธรรมยุติกนิกาย)
(เป็นสมเด็จพระสังฆราช ในสมัยรัชกาลที่ 9)
ทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราช ที่มีพระชนมายุยาวนานที่สุด และดำรงสมณศักดิ์ยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์
โดยราชทินนามดังกล่าวนับเป็นราชทินนามพิเศษ
พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ (https://goo.gl/rDHijA)
สาระสำคัญคือ มาตรา 7 ในกรณีที่ตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชว่างลง ให้นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของมหาเถรสมาคมเสนอนามสมเด็จพระราชาคณะผู้มีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์ขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช
>>> ระหว่างนี้ตำแหน่งพระสังฆราชว่าง 3 ปี
(ผู้รักษาการแทนคือ สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ))
เป็นที่น่าศึกษาต่ออย่างมาก ว่าช่วงนี้เกิดอะไรขึ้นบ้าง หรือรออะไรอยู่จึงต้องว่างนานถึง 3 ปี
พ.ร.บ.สงฆ์ 2560 (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ. สงฆ์ 2505)
สาระสำคัญคือ แก้มาตรา 7 ให้เป็นเหมือน พ.ร.บ. สงฆ์ 2505
สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 20
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (อัมพร อมฺพโร ประสัตถพงศ์)
ทรงดำรงตำแหน่งเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 - ปัจจุบัน
วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร (ธรรมยุติกนิกาย)
(เป็นสมเด็จพระสังฆราช ในสมัยรัชกาลที่ 10)
สรุปคือถ้านับยุคก่อนจะแยกธรรมยุติกนิกาย(ในปี พ.ศ.2379)
ในช่วงระหว่างพ.ศ. 2325 - 2385
มีสมเด็จพระสังฆราช 5 รูป
รวมระยะเวลาดำรงตำแหน่งทั้งหมด 59 ปี
และหลังจากนั้น (พ.ศ. 2385 - 2560)
นับตั้งแต่ที่แยกออกมาเป็นธรรมยุติกนิกายกับมหานิกาย
ก็จะเป็น มหานิกายมีพระสังฆราช 6 รูป รวม 19 ปี
และธรรมยุติกนิกายมีพระสังฆราช 9 รูป รวม 93 ปี นะครับ
เอาไว้เป็นข้อมูลความรู้นะครับ
#น้องแสนดี
15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
............
อ้างอิงที่มา Wikipedia)
ราชวงศ์จักรี
https://goo.gl/3wV0SG
มหาเถรสมาคม
https://goo.gl/YMo0eD
รายนามสมเด็จพระสังฆราช แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
https://goo.gl/i1oxFM
มหานิกาย
https://goo.gl/aCqWmS
ธรรมยุติกนิกาย
https://goo.gl/zYco9B
กำเนิดธรรมยุติกนิกาย (https://goo.gl/HP7Hbv)
ปกิณกะสาระ..เกี่ยวกับสมเด็จพระสังฆราช
https://goo.gl/95SBPF
การปกครองคณะสงฆ์สมัยรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑ – ๔ https://goo.gl/UfxYmM
การปกครองคณะสงฆ์สมัยรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๕-๗ https://goo.gl/CYaDJG
การปกครองคณะสงฆ์สมัยรัตนโกสินทร์ในรัชกาลที่ ๘ https://goo.gl/cWVfd1
การปกครองคณะสงฆ์ในปัจจุบัน https://goo.gl/vOEvo4
.........................
Cr. น้องแสนดี
ติดตามน้องแสนดีได้ทาง
https://goo.gl/crPw5V
Line@
https://goo.gl/wgdiqH
แอดไลน์แสนดีได้ทางลิ้งนี้นะครับ
https://goo.gl/XcZZTi
.......................
คลิ๊ก ย้อนกลับไปที่สารบัญ
คนกรุณาอย่ามายุ่งมาสั่งการพระทำตามใจคนมันบาปหนักนะครับ
ตอบลบความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ
ตอบลบควรให้คณะสงฆ์ท่านปกครองกันเอง ฆราวาสไม่ควรเข้าไปยุ่ง
ตอบลบสาธุ
ตอบลบธงชาติไทยทำไมต้องสามสี
ตอบลบธงชาติมีสามสีฉันสงสัย
ธงชาติมีความหมายเป็นเช่นไร
ธงชาติใครช่วยตอบให้หายงง
ธงชาติไทยทำไมสีต้องสาม
ธงชาติงามถามตอบให้สัยสง
ธงชาตินี้ช่วยบอกฉันตามตรง
ธงชาติคงความหมายที่สำคัญ
ธงชาติไทยฉันเกิดก็สีนี้
ธงชาตินี่อยากบอกอะไรฉัน
ธงชาติเราคงหมายสายสัมพันธ์
ธงชาตินั้นสำคัญสัญลักษณ์ไทย...
สาธุ อนุโมทนาบุญค่ะ ที่ให้ข้อมูล ความรู้ดีๆ ค่ะ
ตอบลบขอบพระคุณกับความรู้ดีๆด้วยค่ะ สาธุๆๆค่ะ
ตอบลบสาธุครับ
ตอบลบสาธุๆ สาธุครับ
ตอบลบสาธุค่ะ
ตอบลบ